หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกล้วย ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหาร
บุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกล้วย
 
 
บทบาทหน้าที่
 
 
 
ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
 
 
ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกล้วย นั้น ได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลาง
การพัฒนา ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพัฒนาท้องถิ่น ในทุก ๆ ด้าน เป็นการส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยรวม การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 รวมที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2546 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และรวบรวมกฎหมายอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหา ในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนด แบ่งภารกิจได้ เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 รวมที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)พ.ศ.2546 และ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้
1.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
  จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก (มาตรา 67 (1))
  ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร (มาตรา 68(1))
  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา 68(2))
  ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (มาตรา 68(3))
  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา 16(4))
  การสาธารณูปการ (มาตรา 16(5))
2.ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา 67(6))
  ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (มาตรา 67(3))
  ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ (มาตรา 68(4))
  การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา 16(10))
  การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา 16(2))
  การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา 16(5))
  การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา 16(19))
3.ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 67(4))
  การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (มาตรา 68(8))
  การผังเมือง (มาตรา 68(13))
  จัดให้มีที่จอดรถ (มาตรา 16(3))
  การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา 16(17))
  การควบคุมอาคาร (มาตรา 16(28))
4.ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชย์กรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
  ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (มาตรา 68(6))
  ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ (มาตรา 68(5))
  บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา 68(7))
  ให้มีตลาด (มาตรา 68(10))
  การท่องเที่ยว (มาตรา 68(12))
  กิจการเกี่ยวกับการพาณิช (มาตรา 68(11))
  การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา 16(6))
  การพาณิชย์กรรมและการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 16(7))
5.ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
  คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 67(7))
  รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (มาตรา 67(2))
  การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ (มาตรา 17 (12))
6.ด้านการศาสนา ศิลปะวัฒนาธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
  บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 67(8))
  ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (มาตรา 67(5))
  การจัดการศึกษา (มาตรา 16(9))
  การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนาธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (มาตรา 17(18))
7.ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
  สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา 45(3))
  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็น
และสมควร (มาตรา 67(9))
  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน (มาตรา 16(16))
  การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 17(3))
  การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (มาตรา 17(16))
ภารกิจทั้ง 7 ด้านตามที่กฎหมายกำหนด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกล้วย สามารถจะแก้ไขปัญหา
และพัฒนาท้องถิ่น ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ
 
 
บทบาทหน้าที่ สำนักงานปลัด
 
 
ส่วนสำนักงานปลัด มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ สารบรรณ การจัดทำแผนพัฒนาตำบลการจัดทำร่าง
ข้อบังคับ งานประชุมสภาฯ การจัดทำทะเบียนสมาชิก อบต. คณะกรรมการบริหาร งานเลือกตั้ง การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมการให้คำปรึกษาเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบ การปกครอง บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง การบริหารงานบุคคลของอบต. ทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆและปฏิบัติหน้าที่ อื่นที่เกี่ยวข้อง
 
 
   
 
 
Link ที่น่าสนใจ
   
 
 
   
ติดต่อหน่วยงาน
   

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกล้วย
อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110

โทรศัพท์ : 036-472-790

โทรสาร : 036-472-789

E-mail : bk.bankluay@gmail.com, saraban@bankluay-banmi.go.th
LINK เพิ่มเติม
   
  นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์
 
  Copyright © all right reserved
     
    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกล้วย
    จำนวนผู้เข้าชม 17,206,878 เริ่มนับ 12 เม.ย. 2554
    จัดทำโดย : NAXsolution.com
 
สายตรงนายก
โทร 081-382-0670
 
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10